การประชุมวิชาการน้ำบาดาลแห่งชาติ ครั้งที่ 1

(วันที่ 20 - 22 กันยายน 2566 )

แอปพลิเคชัน Badan4Thai


แอปพลิเคชันในการให้บริการด้านน้ำบาดาลเพื่อบริการประชาชน มีฟังก์ชันการใช้งาน ดังนี้
  • การค้นหาข้อมูลบ่อน้ำบาดาล
  • การค้นหาช่างเจาะน้ำบาดาล
  • การคำนวณความลึก ปริมาณ และระดับน้ำบาดาล
  • การคำนวณราคาค่าเจาะบ่อน้ำบาดาล (โดยประมาณ)
  • ดาวน์โหลดแผนที่น้ำบาดาล
  • องค์ความรู้ด้านน้ำบาดาล

ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชน ช่างเจาะน้ำบาดาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ และภาคเอกชน โดยทุกท่านสามารถดาวน์โหลดได้ใน App Store และ Play Store (พร้อมใช้งานแล้ววันนี้)



โครงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบาดาลพื้นที่ทิ้งขยะ


ปัจจุบันได้มีปริมาณขยะจำนวนมากที่ต้องได้รับการกำจัด แต่การฝังกลบขยะให้ถูกต้องกลับถูกละเลย รวมทั้งปัญหาการลักลอบทิ้งกากของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชนและทรัพยากรดิน รวมถึงแหล่งน้ำผิวดินก็มีโอกาสปนเปื้อนสูงมาก กรมทรัพยากรน้ำบาดาลตระหนักถึงความสำคัญจึงได้ติดตามสถานการณ์คุณภาพน้ำบาดาลในพื้นที่ทิ้งขยะ “เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านคุณภาพน้ำบาดาลและความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนในน้ำบาดาล” เพื่อร่วมกันหาแนวทางบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชนจะได้มีน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาดไว้ใช้


ออกแบบและวางแผนจัดทำระบบเครือข่ายบ่อสังเกตการณ์น้ำบาดาลให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบาดาล และคุณภาพน้ำบาดาล ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สำหรับวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำบาดาล ทั้งเชิงปริมาณน้ำบาดาลและคุณภาพน้ำบาดาล และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบาดาล (Thailand Groundwater Monitoring System, TGMS) เป็นศูนย์กลางให้บริการข้อมูลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำและคุณภาพน้ำบาดาลของประเทศ




ศึกษา สำรวจ และประเมินศักยภาพน้ำบาดาล พื้นที่แอ่งหนองฝ้าย


ในปี พ.ศ. 2564 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ดำเนินการสำรวจหาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้แก่ประชาชน โดยได้พบแหล่งน้ำบาดาลในชั้นตะกอนที่มีศักยภาพสูงในพื้นที่ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญและได้เรียกแหล่งน้ำบาดาลนี้ว่า “แอ่งหนองฝ้าย” แต่ยังขาดข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญ เช่น ขอบเขตการกระจายตัว รูปร่างของแอ่ง คุณสมบัติทางชลศาสตร์ พร้อมทั้งปริมาณ และคุณภาพของน้ำบาดาล ดังนั้น เพื่อเป็นการศึกษาโครงสร้างแอ่ง ศักยภาพน้ำบาดาลแอ่งหนองฝ้าย แนวทางในการบริหารจัดการน้ำบาดาล และแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำบาดาลให้มีใช้อย่างยั่งยืน จึงได้ดำเนินงาน โครงการสำรวจและจัดทำแผนที่ศักยภาพน้ำบาดาล สำหรับบริหารจัดการน้ำบาดาลพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก แอ่งหนองฝ้าย (ระยะที่ 1)


รูปที่ 1 ภาพตัดขวางทางธรณีวิทยา

รูปที่ 2 ภาพตัดขวางทางอุทกธรณีวิทยา

รูปภาพ แผนที่แสดงขอบเขตแอ่ง และความลึกของหินฐาน พื้นที่แอ่งหนองฝ้าย




รูปแบบความสำเร็จการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล
โมเดลบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล


เป้าหมายความสำเร็จของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล คือ ความมั่นคงทางการผลิตที่คุ้มค่าและยั่นยืนของกลุ่มสมาชิกเกษตร ผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีกิจกรรมให้กลุ่มเกษตรกรมีระบบกระจายน้ำบาดาล เพื่อการเกษตรที่มีความมั่นคง คุ้มค่าและยั่งยืนเหมาะสมกับความต้องการ โดยการขับเคลื่อนจากโครงสร้าง 3 องค์ประกอบหลัก คือ  ระยะสั้น/เร่งด่วน (ต้นน้ำ) ระยะกลาง  (กลางน้ำ)  ระยะยาว  (ปลายน้ำ)   ที่ถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญของการดำเนินงานที่สร้างรายได้คืนสู่สมาชิกกลุ่มเกษตรกร
ดังแผนผังกระบวนการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ (Vision) “มุ่งสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล เชิงพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงด้านน้ำ และการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน  ภายในปี  2580”   ตามแนวคิด  และมุมมองยุคใหม่ คือ  “DGR New Look Look New” ปรับบทบาท  “นักบริหารจัดการ
น้ำบาดาลยุคใหม่” สำหรับการปรับใช้กับ บันไดแห่งความสำเร็จ 5 ขั้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อการเกษตรมั่นคง คุ้มค่า และยั่งยืน มีดังต่อไปนี้

  1. บันไดขั้นที่ 1 คือ ปรับบทบาท สู่ “นักบริหารจัดการน้ำบาดาลยุคใหม่” หรือ DGR New Look Look New
  2. บันไดขั้นที่ 2 คือ จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ
  3. บันไดขั้นที่ 3 คือ การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ผ่าน ธ.ก.ส. ภาครัฐ หรือประชาคมท้องถิ่น
  4. บันไดขั้นที่ 4 คือ เปลี่ยนผู้ใช้น้ำเป็นผู้ผลิต
  5. บันไดขั้นที่ 5 คือ “มุ่งสู่ตลาดเพื่อความยั่งยืน